Since : 27ก.ค.53

หน้าเว็บ

Part 1 การเลือกอุปกรณ์ การประกอบ Hardware

CPU

CPU
หน่วยประมวลผลกลาง

Memory Module

Memory Module
หน่วยความจำ

Part 2 การ Setup BIOS และจัดการ Partition

BIOS คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน Setup เมื่อใด อย่างไร พร้อมทั้งการแก้ปัญหาจาก BIOS

รู้จักกับ Partition ของ HDD มีกี่ประเภท ประโยชน์ของการแบ่ง Partition โปรแกรมที่ใช้จัดการ Partition มีอะไรบ้าง วิธีการทำ

การ Format Partition

bios

bios

Part 3 รู้จักและติดตั้งOS , Aplication ต่าง ๆ

OS คืออะไร
การติดตั้ง OS (Windows XP, Vista) Step by Step
Multi OS เป็นอย่างไร ทำอย่างไร ขั้นตอนวิธีทำ
ลงโปรแกรมพื้นฐาน, Office, ทั่วไป เทคนิคการติดตั้งโปรแกรมแบบต่าง ๆ

Windows XP

Windows XP

Windows Vista , Microsoft Office

Windows Vista , Microsoft Office

Part 4 : DOS , Norton Ghost , ZIP

รู้จักกับ MS-DOS
เรียนรู้การใ้ช้งาน
Boot DOS
คำสั่ง DOS พื้นฐานที่ควรรู้

Ghost Utility
การ Clone HDD , Partition
ทำอย่างไร
การประยุกต์ใช้
สร้าง Image File และการนำไปใช้

ZIP
ประโยชน์
ความเป็นมาของโปรแกรม
การติดตั้งเพื่อใช้งาน
การสร้าง ZIP File
การคลาย ZIP File

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

การชาร์จแบตเตอร์รี่มือถือ

    ปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์มือถือ, smartphone และ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
ประเภท Tablet และอื่น ๆ เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ สามารถออนไลน์ ติดต่อกันได้ทุกที่ด้วยเคือข่าย 3G , 4G (น่าจะมีตั้งนานแล้ว) ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ทั้งหลายต้องพึ่งพาแบตเตอร์รี่สำรองกันเป็นว่าเล่น เพราะถ้าใช้ตลอดเวลา  แบตอยู่ได้ไม่เต็มวัน  วันนี้จะมาอธิบายการชาร์จแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพกัน


         สิ่งที่คุณควรรู้คือ  แบตเตอรี่ชนิดชาร์จไฟได้นั้น มีอยู่หลายชนิด เช่น Ni-cd, Ni-MH , Li-on , Li-po ทำไมมันมากมายหลายแบบขนาดนี้  แต่ละแบบก็จะมีวิธีการชาร์จ การใช้ ต่างกันไป  แต่ไม่ต้องกังวลไป จะบอกว่า  ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น มือถือรุ่นเก๋า, smartphone, tablet ทั้งหลาย รวมถึงโน้ตบุคคอมพิวเตอร์ ,กล้องดิจิตอล และอื่น ๆ (เยอะนึกไม่ออก) นั้น ล้วนแต่ใช้ แบตเตอรี่ชนิด Li-ion (Lithium-Ion) ทั้งสิ้น  เพราะงั้นเรามาดูวิธีชาร์จแบตฯชนิดนี้กัน เอาแบบสรุปง่าย ๆ ไม่ต้องวิชาการเยอะ

          - จำนวนรอบของการชาร์จ ไม่ได้นับจำนวนครั้ง แต่นับเปอร์เซ็นต์ในการชาร์จรวม แปลว่าชาร์จบ่อยไม่ได้ทำให้เสื่อมเร็ว เหมือนที่หลายคนคิด (มาจากแบตฯสมัยก่อน ซึ่งเป็นคนละชนิดกัน) เราสามารถชาร์จได้ทุกเมื่อที่ต้องการ และถอดได้ทุกเมื่อเช่นกัน ไม่ต้องรอให้เต็มค่อยถอด และไม่ต้องรีบถอดหลังจากเต็ม เพราะมีการตัดไฟอัตโนมัติอยู่แล้ว ไม่เสื่อม
          - การเสื่อมสภาพของแบต หลักๆแล้วขึ้นอยู่กับระดับประจุของแบตฯ ยิ่งเหลือน้อยจะยิ่งร้อนเร็วและเสื่อมเร็ว คุณควรที่จะชาร์จแบตฯเมื่อแบตฯเหลือเกินครึ่ง ดีกว่าจะปล่อยให้เกือบหมดแล้วค่อยคิดชาร์จ(ความเชื่อเดิมอีกครั้ง) และหากปล่อยให้แบตหมดเกลี้ยง แบตจะเสื่อมสภาพทันที

          - เมื่อแบตเริ่มบวม แสดงว่าเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ควรรีบเปลี่ยนทันที
          - สรุปสั้นๆ ชาร์จได้ตลอดเวลาที่มีโอกาส ถอดตอนไหนก็ได้ อย่าใช้จนแบตเหลือน้อย
          เพียงง่ายๆ แค่นี้กับวิธีชาร์จแบตเตอรี่มือถือ โน้ตบุค แทบเล็ต ที่ถูกต้องครับ  แล้วพบกับความรู้ดีๆ ตอนใหม่คราวหน้าครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เผยแพร่ผลงาน อ.สฤษดิ์ พานคำ

หัวเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นายสฤษดิ์ พานคำ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
ปี พ.ศ. 2554

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้ศึกษาแบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ ที่เรียนรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 37 คน และครูผู้สอนงานเกษตร ที่ได้ใช้แบบฝึกทักษะการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน
จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าภายหลังการทดลองใช้แบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความพึงพอใจหลังการใช้แบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
จากการประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะ โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนงานเกษตรที่ได้ใช้แบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบฝึกทักษะรายวิชา ง 23201 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็น แบบฝึกทักษะที่มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา ง 23201 การปลูก
ไม้ดอกไม้ประดับ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การ shutdown ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี

การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง หรือ shutdown นั้น ทุกคนคงเข้าใจดี
บทความนี้จะพูดถึงเรื่องการปิดเครื่องไม่ถูกต้องให้ฟังกันบ้าง ไม่ว่าจะเกิดจากไฟดับ ปลั๊กหลุด แหล่งจ่ายไฟ (power supply) เสีย หรือแกล้งเพื่อนโดยการปิดสวิทช์คอมพิวเตอร์ซะเฉย ๆ (นักเรียนชอบทำแบบนี้เห็นเป็นเรื่องสนุก)

ลองสังเกตง่าย ๆ ดูก่อนครับว่า เวลาเรา shutdown คอมพิวเตอร์ เครื่องมันทำอะไรมากมายทำไมไม่รีบดับ ๆ ไปในทันที ก็เพราะเครื่องกำลังทำการ save ข้อมูลท้้งหลายที่เปิดขึ้นมาใช้งานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์งาน ,โปรแกรมที่เปิดค้างไว้ ,service ต่าง ๆ ของ windows และอื่น ๆ อีกมากมาย กว่าจะปิดได้ครบทุกอย่างทีเปิดทิ้งไว้ จึงใช้เวลาพอสมควร
แล้วถ้าหากเราปิดเครื่องในทันทีแบบกดสวิทช์ให้ดับ หรือสาเหตุใดก็ตามที่กล่าวไปแล้ว windows ยังไม่ทันได้ save ไฟล์ทั้งหลายเลย
ทำให้เกิดการเสียหายเกิดขึ้นอย่างแน่นอนน่ะสิครับ คล้าย ๆ กับว่า เราเดินอยู่หรือทำอะไรอยู่ดีดี ก็มีคนมาทำให้สลบไปซะอย่างนั้น ตื่นขึ้นมาอีกทีเราจะงง ๆ ทำอะไรไม่ถูก จำอะไรไม่ได้ว่าสลบไปเมื่อไร เกิดอะไรขึ้น หรือถ้าหนักเข้าก็ความจำเสื่อมไปเลย น้อง ๆ ทั้งหลายจำไว้ไห้ดีนะครับ ว่ามันเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงดังที่ยกตัวอย่าง (คงไม่มีใครอยากสลบกลางอากาศหรอกนะ)

มาดูกันเลยครับว่า ทุกครั้งที่มีการปิดเครื่องไม่ถูกต้องเกิดขึ้น อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนใดจะเสียหายบ้าง(มีแน่ ๆ มากหรือน้อย เหมือนเราสลบไปต้องมีอะไรเสียหายกับตัวเราอยูแล้ว)

อันดับแรก สถานเบา windows ครับ มันจะเริ่มรวน จำอะไรไม่ได้ โปรแกรมที่เคยเปิดใช้งานได้ก็ใช้ไม่ได้ เคยใช้ตามปกติก็ช้ามากมายรอไม่ไหว เกิดความเสียหายกับตัวระบบฏิบัติการ (windows) เองและโปรแกรมที่เราใช้งานต่าง ๆ สังเกตได้เลยว่าเครื่องที่โดนบ่อย ๆ มันจะทำงานช้าลงเรื่อย ๆ อืดๆ เพราะตอนที่เราปิดเครื่องไม่ถูกนั้น ไฟล์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได่save ก็จะเสียหายไป windows ก็จะต้องทำการกู้คืนไฟล์ต่าง ๆ ที่เสียหายซึ่งอาจทีเป็นพัน ๆ ไฟล์ก็ได้ อาจเป็นไฟล์สำคัญมาก ๆ ก็ได้ windows จึงเริ่มมีอาการ ทำงานช้าลงเรื่อย ๆ บางครั้งถ้าโชคร้ายหน่อย ปิดไม่ถูกต้องไปครั้งเดียว คอมพิวเตอร์คุณอาจจะบูตเข้าสู่ windows ไม่ได้อีกเลย(วนซ้ำหรือไม่ก็ขึ้นข้อความ error) ซึ่งก็อย่างที่บอกไปแล้ว ทุกครั้งที่มีการปิดshutdownไม่ถูกต้อง รับรองได้เลยว่าจะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย

คุณทั้งหลายอาจเคยเจออาการ windows บูตไม่ขึ้นใช่ไหมครับ อยู่ดีดี เปิดเครื่องไม่ติดซะงั้น สาเหตุอาจมาจากการปิดเครื่องครั้งก่อนของคุณนั่นแหละทำให้มีปัญหานี้ การรีเซ็ตก็เหมือนกัน เกิดผลเสียแบบเดียวกัน

อันดับสอง hard disk drive (ฮาร์ดดิสก์หรือฮาร์ดไดรฟ์) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่ง ก็เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลนั่นแหละ ข้อมูลทั้งหลายของเราไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ,งานที่save ไว้ ,เกมส์, โปรแกรมที่ลงไว้ในเครื่อง, เครื่องปริ้นท์ที่ถูกติดตั้งไว้, อุปกรณ์ที่เคยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์, หรือตัว windows เอง ก็ล้วนแล้วแต่ถูกบันทึกอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์ทั้งสิ้น สำคญไหมล่ะครับ เพราะงั้นถ้าฮาร์ดไดรฟ์เสียไป ข้อมูลทั้งหมดที่คุณเก็บไว้ตลอดชีวิตใน My documents, C: , D: ทั้งหลายก็มลายหายสิ้นไปเลย มาดูกันว่า ปิดเครื่องไม่ถูกวิธีจะสร้างความเสียหายแก่ฮาร์ดไดรฟ์ยังไง

ฮาร์ดไดรฟ์นั้นจะเกิดความเสียหายจากไฟฟ้าดับหรือ ปิดสวิทช์คอม หรือรีเซ็ท หรือไฟตก หรือกระแทก ได้ทั้งนั้น (ตรงกับสิ่งที่เราทำอยู่โดยไม่ตั้งใจ) เพราะลักษณะทางกายภาพของมันเป็นจานแม่เหล็กหมุน(ตามรูปบน) มีเข็มที่เป็นหัวอ่านสอดเข้าไปในจานเพื่อเขียน/อ่าน ข้อมูลนั่นเอง การทำงานคร่าว ๆ ของมันเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ ไฟจ่ายเข้า มันจะเริ่มหมุนเพื่ออ่าน / เขียนข้อมูลตามจุดต่าง ๆ และมันจะหมุนอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องเราเปิด เมื่อเราจะปิดเครื่องหรือ shutdown , windows จะสั่งงานให้บันทึก (save) ข้อมูลที่ใช้งานอยู่ลงไปให้ครบถ้วนจากนั้นฮาร์ดไดร์ฟก็จะทำการเก็บหัวอ่านเข้าที่ในตำแหน่งเตรียมดับ ถ้าเรา shutdown ถูกต้อง ก็ไม่เกิดปัญหาใดๆ แต่หากไม่ใช่ มีเหตุการณ์ให้ไฟดับก่อนที่จะ save และเก็บหัวอ่าน หัวอ่านก็จะค้างอยู่ตำแหน่งไม่ถูกต้อง

หลังจากนั้นเราเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งานอีกครั้ง หรือกดรีเซ็ทก็ตาม(มันคือเปิดและปิดในทันที) ไฟจะถูกจ่ายเข้าสู่ฮาร์ดไดรฟ์แบบกระชาก ทำให้หัวอ่านนั้นถูกกระชากไปด้วย พื้นผิวฮาร์ดไดร์ฟซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญและบอบบางมาก ก็จะเกิดการเสียหายเกิดขึ้น เรียกว่า Bad คือเสียทันที ข้อมูลตรงจุดนั้นก็จะไม่สามารถใช้ได้แล้ว ทำให้ windows ค้างเพราะอ่านข้อมูลไม่ออก

ถ้าถามว่ามีวิธีแก้ให้เหมือนเดิมไหม มี แต่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แค่ทำให้ฮาร์ดไดร์ฟนั้นกลับมาใช้งานได้ แต่ข้อมูลเสียไปแล้วครับ ลองนึกภาพดูว่า จานแม่เหล็กเป็นรอยไปแล้วจะทำให้เหมือนเดิมได้ไหม? หลายคนเจอปัญหานี้ ข้อมูลเสียหาย เป็นข้อมูลสำคัญต้องการกู้กลับคืนมา มีบริษัทรับกู้ข้อมูลครับ ต้องทำในห้อง LAB Clean room หรือห้องปลอดฝุ่น ร้านทั่วไปทำไม่ได้ครับ ราคากู้ระดับนี้ก็ประมาณ 4-5000 บาทขึ้นไปตามระดับความยากง่าย เห็นผลเสียหรือยังครับ ดังนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็ต้องยอมทำใจทิ้งไปทั้งฮาร์ดไดร์ฟและข้อมูล แล้วก็ซื้อเปลี่ยนใหม่เลยทีเดียว

มาดูความเสียหายของฮาร์ดไดร์ฟแบบเบาะๆกันบ้าง หลังจากที่ฟังแบบหนักสาหัสมาแล้ว แบบเบาะ ๆ ก็คือเกิดอาการที่เรียกว่า Lost Cluster

อ่านต่อ เย็นนี้

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

หน้าแรก

หลักสูตรซ่อม-ประกอบ คอมพิวเตอร์ (Hardware : Telecom Info) เทเลคอมอินโฟ สาขาเดอะมอลล์บางแค กับอ.ประมาณ เชิญแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา Hardware ที่ยังสงสัยจากที่เรียนมาได้ที่นี่ครับ โปรดสมัคร GMail เพื่อแสดงความคิดเห็น